การแลกเปลี่ยนก๊าซในร่างกาย

การแลกเปลี่ยนแก๊สในร่างกายของคนเกิดขึ้น 2 แห่ง  คือที่ปอดและที่เซลล์ของเนื้อเยื่อต่างๆ  ที่ปอดเป็นการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างถุงลมกับหลอดเลือดฝอย  โดยแก๊สออกซิเจนจากถุงลมจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอยรอบๆถุงลม  และจับกับฮีโมโกลบิน  (hemoglobin :  Hb)  ในเซลล์เม็ดเลือดแดงกลายเป็นออกซีฮีโมโกลบิน  (oxyhemoglobin  )  ซึ่งมีสีแดงสด  เลือดที่มีออกซีฮีโมโกลบินนี้จะถูกส่งเข้าสู่หัวใจและสูบฉีดไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่างๆทั่วร่างกาย   ที่เนื้อเยื่อออกซีฮีโมโกลบินจะเปลี่ยนเป็นออกซิเจน  และฮีโมโกลบิน  แก๊สออกซิเจนจะแพร่เข้าสู่เซลล์ทำให้เซลล์ของเนื้อเยื่อได้รับแก๊สออกซิเจน  ดังสมการ

ขณะที่เซลล์ของเนื้อเยื่อรับแก๊สออกซิเจนนั้น  แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  ที่เกิดขึ้นในเซลล์จะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอย  แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่จะทำปฏิกิริยากับน้ำในเซลล์เม็ดเลือดแดง  เกิดเป็นกรดคาร์บอนิก  ซึ่งจะแตกตัวได้ไฮโดรเจนไอออนและไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน  ซึ่งจะถูกลำเลียงออกสู่พลาสมาโดยวิธีการแพร่
เมื่อเลือดที่มีไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน  และไฮโดรเจนไอออนมากไหลเข้าสู่หัวใจ  เลือดจะถูกสูบฉีดต่อไปยังหลอดเลือดฝอยรอบถุงลม  ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนและไฮโดรเจนไอออนจะรวมตัวกันเป็นกรดคาร์บอนิกแล้วจึงสลายตัวเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำในเซลล์เม็ดเลือดแดง  เป็นผลให้ความหนาแน่นของคาร์บอนไดออกไซด์ในหลอดเลือดฝอยสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงลม  จึงเกิดการแพร่ของคาร์บอนไดออกไซด์จากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม  ดังสมการ
                                 

ที่มาของเนื้อหา : https://sites.google.com/site/bamzorigi/bth-thi-6-kar-raksa-dulyphaph-ni-rangkay/6-1-rabb-hayci-kab-kar-raksa-dulyphaph-khxng-rangkay

ที่มาของรูป : https://sites.google.com/site/bamzorigi/bth-thi-6-kar-raksa-dulyphaph-ni-rangkay/6-1-rabb-hayci-kab-kar-raksa-dulyphaph-khxng-rangkay

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น