อวัยวะการหายใจในร่างกาย

             ระบบการแลกเปลี่ยนแก๊สของคน ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ
 1. external respiration เป็นการนำอากาศเข้า-ออกจากปอด และการแลกเปลี่ยนแก๊สบริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกาย
 2. internal respiration การหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) ระบบแลกเปลี่ยนแก๊สของคนประกอบส่วนต่างๆ ดังนี้
    1.ส่วนที่นำอากาศเข้าสู่ร่างกาย เริ่มตั้งแต่รูจมูก โพรงจมูก (nasal cavity) คอหอย (pharynx) กล่องเสียง (larynx) หลอดลมคอ (trachea) หลอดลมหรือขั้วปอด (bronchus) หลอดลมฝอย (bronchiole) 
    2.ส่วนที่เกิดการแลกเปลี่ยนแก๊ส หลอดลมฝอยแลกเปลี่ยนแก๊ส มีลักษณะเป็นถุงลมย่อย (pulmonary-alveoli) ซึ่งทำให้แลกเปลี่ยนแก๊สได้ 

** กระดูกซี่โครง (rib) และกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครง ซึ่งจะร่วมกันทำงานให้เกิดการหายใจเข้า หายใจออกและป้องกันอันตรายให้แก่ระบบหายใจด้วย **

   ปอด เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการหายใจ ตั้งอยู่ภายในทรวงอกมีปริมาตรประมาณ 2 ใน 3 ของทรวงอก ปอดขวาจะสั้นกว่าปอดซ้าย เนื่องจากตับซึ่งอยู่ทางด้านล่างดันขึ้นมา ส่วนปอดซ้ายจะแคบกว่าปอดขวาเพราะว่ามีหัวใจแทรกอยู่ ปอดมีเยื่อหุ้มปอด (Pleura) 2 ชั้น ชั้นนอกติดกับผนังช่องอกเรียกว่า parietal pleura ชั้นในติดกับผนังของปอดเรียกว่า visceral pleura ระหว่างเยื่อทั้งสองชั้นมีของเหลวที่เรียกว่า pleura fluid เคลือบอยู่


จมูกและปาก

- โพรงจมูกจะมีขนและต่อมน้ำมันช่วยในการกรองและจับฝุ่นละอองไม่ให้ผ่านลงสู่ปอด

- โพรงจมูกยังมีเยื่อบุจมูกหนาช่วยให้อากาศที่เข้ามามีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นและมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจากเส้นเลือดจำนวนมากที่อยู่ใต้เยื่อบุผิวของโพรงจมูก

- ออลแฟกเทอรีแอเรีย (Olfactory area) ในจมูกเป็นบริเวณที่ทำหน้าที่รับกลิ่นโดยมีเซลล์เยื่อบุผิวเรียกว่า ออลแฟกทอรีเซลล์ (olfactory cell) มีพื้นที่ประมาณ 10 ตารางเซนติเมตร และจะมีขนาดเล็กลงเมื่ออายุมากขึ้น

คอหอย (Pharynx)  เป็นบริเวณที่พบกันของช่องจมูกและช่องปาก อากาศจะผ่านเข้าสู่กล่องเสียง (larynx) โดยมี ฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้อาหารตกลงสู่หลอดลม และที่กล่องเสียงจะมีเยื่อเมือกที่มีใยเอ็นยืดหยุ่นได้เรียกว่า เส้นเสียง (vocal cord) เมื่อลมผ่านกล่องเสียงจะทำให้เส้นเสียงสั่นและเกิดเป็นเสียงขึ้น


หลอดลมคอ (Trachea)  เป็นท่อกลวงมีกระดูกอ่อนเรียงเป็นรูปเกือกม้าทำให้หลอดลมคอไม่แฟบ หลอดลมคอของผู้ใหญ่ยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร โดยจะเริ่มจากกระดูกคอชิ้นที่ 6 จนถึงกระดูกอกชิ้นที่ 5 แล้วแตกแขนงเป็นหลอดลมขั้วปอด (bronchus) เข้าสู่ปอด


หลอดลมฝอย (Bronchiole) แบ่งออกเป็น 2  ส่วนคือ
- Terminal bronchiole แยกออกจากหลอดลมแขนงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 มิลลิเมตร พบกล้ามเนื้อเรียบและเยื่ออิลาสติกไฟเบอร์ไม่พบโครงสร้างที่เป็นกระดูกอ่อน

- Respiratory bronchiole เป็นส่วนแรกที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊ส

ท่อลม (Alveolar duct) เป็นท่อส่วนสุดท้ายของส่วนที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊ส (respiratory division) ซึ่งจะไปสิ้นสุดที่ถุงลม (alveolar sac)

ถุงลมและถุงลมย่อย (alveolus หรือ alveolar sac และ pulmonary alveoli) เป็นถุงมีเซลล์พิเศษหลั่งสารพวกฟอสโฟลิพิด (phospholipid) เรียกว่า เซอร์แฟกแทนท์(surfactant) เข้าสู่ถุงลมย่อยเพื่อลดแรงตึงผิวของถุงลมย่อยไม่ให้ติดกัน  ผนังของถุงลมย่อยมีรูซึ่งเป็นช่องติดต่อระหว่างถุงลมย่อยทำให้อากาศภายในถุงลมย่อยมีแรงดันเท่ากันทั้งปอด  ปอดแต่ละข้างจะมีถุงลมปอดประมาณ  300 ล้านถุง  แต่ละถุงจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 0.25 เซนติเมตร  คิดเป็นพื้นที่ทั้งหมดของการแลกเปลี่ยนแก๊สของถุงลมปอดทั้งสองข้างประมาณ 90  ตารางเมตรหรือคิดเป็น  40  เท่าของพื้นที่ผิวของร่างกาย  การที่ปอดยืดหยุ่นได้ดีและขยายตัวได้มาก ทำให้ร่างกายได้รับแก๊สออกซิเจนและคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเพียงพอ


ที่มาของเนื้อหา : http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/248-groupid=115

ที่มาของรูป  : http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/248-groupid=115

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น