โครงสร้างการแลกเปลี่ยนก๊าซในร่างกาย


  1.รูจมูก (Nostrill) เป็นทางผ่านเข้าของอากาศ
  2.ช่องจมูกหรือโพรงจมูก (Nasal cavity) เป็นโพรงที่ถัดจากรูจมูกเข้าไปซึ่งติดต่อกับคอหอย ที่โพรงจมูกจะมีขนเส้นเล็ก ๆ และต่อมน้ำมันช่วยกรองและจับฝุ่นละอองไม่ให้ผ่านลงสู่ปอด นอกจากนี้ที่โพรงจมูกยังมีเยื่อบุจมูกหนาช่วยให้อากาศที่เข้ามามีความชุ่มชื้น 
  3.คอหอย (Pharynx) เป็นบริเวณที่พบกันของช่องอากาศจากจมูก ช่องอาหารจากปาก กล่องเสียงจากหลอดลมคอ
  4.กล่องเสียง (Larynx) เป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหน้าของลำคอในระดับกระดูกคอข้อที่ 3 ถึงข้อที่ 6 ตอน บนของกล่องเสียง เป็นส่วนที่ต่อมาจากคอหอย ส่วนตอนล่าง จะต่อไปเป็นท่อลม
  5.หลอดลม (trachea) เป็นหลอดยาวตรง มีกระดูกอ่อนเรียงเป็นรูปเกือกม้าติดอยู่ และการที่มีแผ่นกระดูกอ่อนจึงทำให้หลอดลมไม่แฟบลง 
  6.ขั้วปอด (Bronchus ) เป็นส่วนของหลอดลมที่แยกออกเป็นกิ่ง ซ้ายและขวาเข้าสู่ปอด 
  7.แขนงขั้วปวดหรือหลอดลมฝอย (Bronchiole) เป็นแขนงของท่อลมที่แยกออกไปมากมายแทรกอยู่ทั่วไปในเนื้อปอด ซึ่งจะไปสิ้นสุดที่ถุงลม (alveolus) 
  8.ถุงลมเล็ก ๆ ในปอด (alveolu ) ที่ผนังของถุงลมจะมีเส้นเลือดฝอยล้อมรอบอยู่มากมาย จึงเป็นแหล่งในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ภายในปอดของคนมีอัลวิโอลัส (ถุงลมเล็ก ๆ )ประมาณ 300 ล้านถุง


ตั้งแต่ปอดถึงรูจมูก บุด้วยเยื่อบุผิว ซึ่งมี Goblet cell แทรกอยู่ ทำหน้าที่สร้างและปล่อยน้ำเมือกออกมาหล่อลื่นทางเดินอากาศและปรับความชื้น ตลอดจนดักสิ่งแปลกปลอมที่หลุดเข้ามา แล้วให้ขนเล็กๆ (Cillia) ของเซลล์เยื่อบุผิวในหลอดลมและขั้วปอดพัดโบกไป จากคอหอยจะมีช่องเปิดของหลอดลม เรียก Glottis เข้าสู่กล่องเสียง ซึ่งเป็นตอนบนสุดของหลอดลม เหนือ Glottis จะเป็นกระดูกอ่อนเรียกว่า ฝ่าปิดกล่องเสียง (Epiglottis) ทำหน้าที่ปิดหลอดลมขณะกลืนอาหาร (Larynx เป็นกระดูกอ่อน 3 ชิ้น ภายในมีสายเสียง; vocal cord เป็นเยื่อขึงอยู่ทำให้เกิดเสียงเวลาผ่าน) หลอดลม ขั้วปอด และแขนงขั้วปอด ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปเกือกม้า (Tracheal ring) ต่อๆกันป้องกันไม่ให้หลอดลมแฟบ ปลายบนสุดของแขนงขั้วปอด จะพองเป็นถุงลม ซึ่งประกอบด้วย alveolus บาง และมีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยง 

ที่มาของเนื้อหา : http://vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/sci/breath1 ที่มาของรูป : http://vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/sci/breath1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น