การควบคุมการหายใจ

   การหายใจเข้าหายใจออก อยู่ภายใต้การบังคับของระบบประสาทอัตโนมัติ เราไม่สามารถบังคับให้กล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงหยุดทำงานได้ ถึงแม้จะอ้างว่าสามารถบังคับการหายใจเข้าออกให้สั้นยาวได้ตามต้องการ และบังคับให้กลั้นหายใจได้ในช่วงสั้น ๆ ก็ตาม แต่ถ้าทดลองให้นักเรียนวิ่งเร็ว ๆ สัก 100 เมตรแล้วหยุด พร้อมกับให้นักเรียนหายใจเข้าออกเป็นปกติ นักเรียนไม่สามารถทำได้ เพราะในขณะนั้นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ หรือปริมาณไฮโดเจนคาร์บอเนตไอออนกับไฮโดรเจนไอออนมากจะไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใจ ซึ่งอยู่บริเวณสมองส่วนท้าย ซึ่งเรียกว่า เมดัลลา ออบลองกาตา ( Medulla oblongata ) และพอนส์ ( Pons ) ซึ่งเป็นตัวส่งกระแสประสาทไปบังคับกล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงให้หายใจถี่ขึ้น และรุนแรงขึ้นตามปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากขึ้น เมื่อร่างกายขับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดให้ลดลงจนถึงระดับปกติแล้ว ศูนย์ควบคุมการหายใจจะควบคุมอัตราการหายใจให้เป็นปกติ โดยปกติคนธรรมดาจะหายใจนาทีละ 14 – 18 ครั้ง ในผู้หญิงหายใจเร็วกว่าผู้ชายเล็กน้อย คือ นาทีละ 16 – 20 ครั้ง สำหรับอายุเป็นตัวทำให้อัตราการหายใจแตกต่างกันด้วย คือ ทารกแรกเกิดหายใจนาทีละ 40 – 60 ครั้ง อายุ 15 ปี นาทีละ 20 – 22 ครั้ง พออายุ 25 ปี หายใจนาทีละ 14 – 18 ครั้ง การเต้นของหัวใจก็มีความสัมพันธ์กับการหายใจด้วย

   กลไกควบคุมการหายใจจะเกี่ยวข้องกับระบบประสาทโดยมีการควบคุม 2 ส่วนคือ
1. การควบคุมแบบอัตโนวัติ ซึ่งเป็นการหายใจที่ไม่สามารถบังคับได้ โดยสมองส่วนพอนส์และเมดัลลาเป็นตัวสร้างและส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ทำให้การหายใจเข้า-ออก เกิดขึ้นได้อย่างเป็นจังหวะสม่ำเสมอทั้งในยามหลับและยามตื่น โดยไม่จำเป็นต้องพะวงกับการสั่งการให้มีการหายใจ
 2. การควบคุมภายใต้อำนาจจิตใจ ซึ่งเป็นการหายใจที่สามารถบังคับได้ โดยสมองส่วนหน้าส่วนที่เรียกว่า ซีรีบรัลคอร์เทกซ์ไฮโพทาลามัส แลพสมองส่วนหลังส่วนที่เรียกว่า ซีรีเบลลัม ซึ่งจะทำให้เราสามารถควบคุม บังคับ หรือปรับการหายใจให้เหมาะสมกับพฤติกรรมต่างๆของร่างกาย เช่น การพูด การร้องเพลง การเล่นเครื่องดนตรี ประเภทเป่า การว่ายน้ำ การดำน้ำ หรือการกลั้นหายใจได้
   

ที่มาของเนื้อหา : https://sites.google.com/site/bamzorigi/bth-thi-6-kar-raksa-dulyphaph-ni-rangkay/6-1-rabb-hayci-kab-kar-raksa-dulyphaph-khxng-rangkay
https://sites.google.com/site/bodybalanceu/kar-khwbkhum-kar-hayci

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น